วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553



การวัดความเร็วและทิศทางของลม
ลม คือการเคลื่อนไหวของอากาศ

ถ้าลมแรงก็หมายถึงว่ามวลของอากาศเคลื่อนตัว

ไปมากและเร็วในอุตุนิยมวิทยา

การวัดลมจำต้องวัดทั้งทิศของลม

และอัตราหรือความเร็วของลม

สำหรับการวัดทิศของลมนั้นเราใช้ศรลม

(wind vane) ส่วนการวัดความเร็วของลม

เราใช้เครื่องมือที่เรียกว่า

"อะนีมอมิเตอร์"(anemometer)

ซึ่งมีหลายชนิด แต่ส่วนมากใช้แบบ

ใบพัดหรือกังหัน

หรือใช้แบบถ้วยกลมสามใบ

และมีก้านสามก้านต่อมารวมกันที่แกนกลาง

จากแกนกลางจะมีแกนต่อลงมายังเบื้องล่าง

เมื่อกังหันหมุนจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า

ซึ่งจะทำให้เข็มที่หน้าปัดชี้แสดงความเร็วของลมคล้ายๆ

กับหน้าปัดที่บอกความเร็วของรถยนต์การวัดความเร็วและทิศของลม

อาจทำได้โดยใช้เครื่องมืออีกชนิดหนึ่งเรียกว่า "ใบพัดลม"

ซึ่งสามารถวัดความเร็วและทิศได้พร้อมกัน

ในการวัดความเร็วของลมมีหน่วยที่ใช้กันอยู่หลายหน่วย

แล้วแต่ว่าผู้ใช้จะนิยมและสะดวกที่จะใช้หน่วยใด

เช่นนอต หรือไมล์ทะเลต่อชั่วโมงกิโลเมตรต่อชั่วโมงไมล์

(บก) ต่อชั่วโมงนอกจากเครื่องวัดลมชนิดดังกล่าวแล้ว

ยังมีเครื่องบันทึกความเร็วและทิศของลมอยู่ตลอดเวลาด้วย

เครื่องบันทึกลมนี้เรียกว่า อะนีมอกราฟ (anemograph)

ซึ่งสามารถบันทึกความเร็วและทิศของลมได้ตามที่เราต้องการ[กลับหัวข้อหลัก]
เครื่องวัดทิศทางและความเร็วของลมแบบใบพัด

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
มาตราลมโบฟอร์ต
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘ พลเรือเอก เซอร์ ฟรานซิสโบฟอร์ต (Admiral Sir Francis Beaufort, ค.ศ. ๑๗๗๔-๑๘๕๗, ชาวอังกฤษ) แห่งราชนาวีอังกฤษได้พัฒนามาตราส่วนสำหรับคาดคะเนความเร็วของลมไว้ใช้ในการ เดินเรือใบ เรียกว่า มาตราลมโบฟอร์ต (Beau-fort wind scale) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไป และแบ่งกำลังออกเป็น ๑๓ ชั้น คือ ตั้งแต่ ๐ ถึง ๑๒ โดยมีคำบรรยายเครื่องหมายและเปรียบเทียบความเร็วที่มา http://guru.sanook.com/encyclopedia/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8/
เขียนโดย ครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ 0 ความคิดเห็น
แรงดันอากาศแรงดันของอากาศหรือ ความดันของอากาศ นั้น ในการพยากรณ์อากาศจะเรียกว่า ความกดอากาศ จะมีอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากอากาศห่อหุ้มโลกอยู่เป็นจำนวนมาก จะมีน้ำหนักกดลงบนผิวโลก บนตัวเรา หรือ บนวัตถุต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาความกดดันของอากาศ มีค่าประมาณ 15 ปอนด์ ต่อ พื้นที่ 1 ตารางนิ้วที่ระดับน้ำทะเล ซึ่งเรียกความกดดันนี้ว่า "ความกดดัน 1 บรรยากาศ" ซึ่งเท่ากับ 760 มิลลิเมตรของปรอทในการวัดความดันอากาศ เรามักวัดเป็นส่วนสูงของน้ำ หรือส่วนสูงของปรอท ทอริเซลลิ (Toricelli) นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาเลียน เป็นคนแรกที่คิดหาความดันของอากาศโดยใช้ ปรอทศึกษาความดันบรรยากาศแล้วนำไปสร้างเครื่องมือวัดความดันบรรยากาศเรียก ว่า "บารอมิเตอร์" (baromiter)บารอมิเตอร์ คือเครื่องมือที่ใช้วัดความดันอากาศ ที่นิยมใช้ ได้แก่1.บารอมิเตอร์แบบปรอท สร้างขึ้นดดยใช้หลักการที่อากาศสามารถดันของเหลวให้เข้าไปในหลอดแก้ว เครื่องมือนี้ ประกอบด้วย หลอยแก้ว ปลายปิดด้านหนึ่งและไล่อากาศออก แล้วคว่ำหลอดแก้วลงในภาชนะที่บรรจุปรอท อากาศภายนอกจะดันปรอทเข้าสู่หลอดแก้ว ที่ระดับน้ำทะเล ลำปรอทในหลอดแก้วจะสูง 760 มิลลิเมตร (ถ้าใช้น้ำ แทนปรอท อากาศจะดันน้ำขึ้นสูง 10 เมตร เพราะน้ำเบากว่า 13.6 เท่า) ความดัน 1 บรรยากาศ คือความดันที่ทำให้ลำปรอทขึ้นสูง 76 เซนติเมตร หรือ 760 มิลลิเมตร2.แอนิรอยด์บารอมิเตอร์ เป็นตลับโลหะ อาจเป็นอลูมิเนียมรูปร่างกลมแบน ผิวเป็นคลื่น ก้นตลับติดกับกรอบโลหะที่แข็งแรง ภายในตลับสูบอากาศออกเกือบหมด ฝาตลับจึงบุบขึ้นลงตามความดันของอากาศภายนอก ตอนบนฝาตลับมีสปริงที่ต่อไปที่คานและเข็มซึ่งชี้บนหน้าปัดที่มีตัวเลขแสดง ความดันของอากาศ3.บารอกราฟ เป็นเครื่องวัดความดันอากาศแบบแอนิรอยด์บารอมิเตอร์ แต่บันทุกความดันอากาศแบบต่อเนื่องกัน โดยแกนที่ขึ้นลงตามการบุบตัวของตลับโลหะ จะดันเข็มชี้ให้ปลายเข็ม เลื่อนขึ้นลงบนกระดาษกราฟ ซึ่งหมุนตลอดเวลา เราจึงสามารถอ่านค่าความกดอากาศในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้ บารอมิเตอร์แบบนี้ใช้ในการพยากรณ์อากาศ*ถ้าต้มน้ำในที่สูง จุดเดือดจะลดลงแต่ถ้าต้มในระดับน้ำทะเลจะมีจุดเดือด 100 องศาแอลติมิเตอร์ (พัฒนา มาจากแอนิรอยด์บารอมิเตอร์) เป็นเครื่องวัดระดับความสูง ใช้หลักการแบบแอนิรอยด์ แต่ปรับหน้าปัดให้อ่านระดับความสูงได้ด้วย ใช้สำหรับบอกความสูงของเครื่องบินและติดตัวนักโดดร่ม เพื่อบอกความสูง


[ ค้นหาเว็บบอร์ดทุกโรงเรียน แวะไปล่างสุดโฮมเพจ Dek-D ]
เขียนโดย ครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ 0 ความคิดเห็น